ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี จัดโครงการประชุมปฏิบัติการ: การสร้างความร่วมมือทางวิชาการร่วมกับเครือข่ายและกำหนดกรอบทิศทางงานวิจัยด้านธรณีวิทยา ความหลากหลายทางชีวภาพและแหล่งศึกษาทางประวัติศาสตร์ถ้ำเขาหินปูน

           เมื่อวันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2564 เวลา 08.30 – 16.30 น. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี จัดโครงการประชุมปฏิบัติการ: การสร้างความร่วมมือทางวิชาการร่วมกับเครือข่ายและกำหนดกรอบทิศทางงานวิจัยด้านธรณีวิทยา ความหลากหลายทางชีวภาพและแหล่งศึกษาทางประวัติศาสตร์ถ้ำเขาหินปูน ซึ่งเป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากโครงการวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำกิจกรรมทางวิชาการร่วมกับเครือข่ายและสร้างทีมวิจัยที่มีคุณภาพของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ในรูปแบบ Onsite ณ ห้องประชุมศรีภีฏ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี และรูปแบบ Online ผ่านโปรแกรม Zoom meeting

Read more “ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี จัดโครงการประชุมปฏิบัติการ: การสร้างความร่วมมือทางวิชาการร่วมกับเครือข่ายและกำหนดกรอบทิศทางงานวิจัยด้านธรณีวิทยา ความหลากหลายทางชีวภาพและแหล่งศึกษาทางประวัติศาสตร์ถ้ำเขาหินปูน”

Biodiversity Conservation and Utilization in the New Normal Pathway Conference: Taxonomy and Systematics in Thailand (TST New Normal) การประชุมวิชาการการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพในวิถีปกติใหม่: อนุกรมวิธานและซิสเทมาติคส์ในประเทศไทย

              ด้วยสถานการณ์ที่ไม่ปกติภายใต้การระบาดของโคโรนาไวรัส COVID-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกตั้งแต่ปลายปี 2562 จนถึงปัจจุบัน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้เป็นเรื่องราวของความหลากหลายทางชีวภาพโดยแท้ จะเห็นว่ามนุษย์กำลังถูกควบคุมโดยจุลชีพ ซึ่งสาเหตุน่าจะมาจากมนุษย์เองจากผลการวิเคราะห์วิจัย ดังนั้นทุกคนต้องยอมรับว่าวิถีปกติที่เราดำเนินชีวิตกันมาหลายศตวรรษแบบมีวิวัฒนาการจะเปลี่ยนเป็นวิถีใหม่อีกครั้งหนึ่ง ทั้งเรื่องของวิถีชีวิตปกติที่ยังคงอยู่ภายใต้กระบวนการทางวิชาการ การเรียน การศึกษา ตลอดจนการวิจัย ชีวิตต้องดำเนินต่อไปแม้ว่าอาจจะไม่ใช่สำหรับทุกคน โลกจึงวอนให้ทุกคนได้กลับไปทบทวนเรื่องราวต่าง ๆ ในอดีต แล้วดูว่าเราจะช่วยกันอนุรักษ์ดาวเคราะห์ดวงนี้ให้เป็นที่อาศัยของชีวิตที่มีการพึ่งพากันอย่างกลมกลืนตราบจนชีวิตมีวิวัฒนาการไปกับอายุของโลกได้อย่างไรต่อไป

Read more “Biodiversity Conservation and Utilization in the New Normal Pathway Conference: Taxonomy and Systematics in Thailand (TST New Normal) การประชุมวิชาการการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพในวิถีปกติใหม่: อนุกรมวิธานและซิสเทมาติคส์ในประเทศไทย”

สำรวจพื้นที่ประเภทถ้ำเขาหินปูนเพื่อยกระดับแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศประเภทถ้ำเขาหินปูนของจังหวัดกาญจนบุรี ตามแนวทางการท่องเที่ยววิถีใหม่ (New Normal) บนความหลากหลายทางชีวภาพและแหล่งศึกษาประวัติศาสตร์

              เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2564 ทีมนักวิจัย อ.ดร.ปิยะพร พิทักษ์ตันสกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ร่วมกับ ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา และทีมงานศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ลงสำรวจพื้นที่ประเภทถ้ำเขาหินปูนเพื่อยกระดับแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศประเภทถ้ำเขาหินปูนของจังหวัดกาญจนบุรี ตามแนวทางการท่องเที่ยววิถีใหม่ (New Normal) บนความหลากหลายทางชีวภาพและแหล่งศึกษาประวัติศาสตร์

Read more “สำรวจพื้นที่ประเภทถ้ำเขาหินปูนเพื่อยกระดับแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศประเภทถ้ำเขาหินปูนของจังหวัดกาญจนบุรี ตามแนวทางการท่องเที่ยววิถีใหม่ (New Normal) บนความหลากหลายทางชีวภาพและแหล่งศึกษาประวัติศาสตร์”

ขอแสดงความยินดีเนื่องในโอกาส ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี 2563 สาขาวิทยาศาสตร์

                ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ขอแสดงความยินดีเนื่องในโอกาส ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี 2563 สาขาวิทยาศาสตร์ แก่ศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ปัญหา รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์ฯ, อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งผู้ที่จะได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา นั้นจะต้องมีผลงานที่ใช้ศิลปวิทยาเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ เนื่องจากเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เป็นเหรียญซึ่งพระมหากษัตริย์จะได้พระราชทานเพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติแก่บุคคลซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในทางศิลปวิทยา อันได้แสดงให้ประจักษ์เป็นพิเศษว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประเทศชาติ

Read more “ขอแสดงความยินดีเนื่องในโอกาส ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี 2563 สาขาวิทยาศาสตร์”

บรรยายพิเศษ เรื่อง “ตัวอย่างความสำเร็จศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ”

             กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยดินแห่งภูมิภาคเอเชีย (Center of Excellence on Soil Research in Asia: CESRA) เพื่อรองรับการทำงานวิจัยของนักวิจัยและขับเคลื่อนงานด้านวิชาการและแนวปฏิบัติด้านการจัดการดินตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals (SDGs)) ทั้งนี้ ได้เรียนเชิญผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้ที่ประสบความสำเร็จและมีประสบการณ์ในการบริหารดำเนินงานของศูนย์ฯ และร่วมเป็นวิทยากร บรรยายพิเศษ เรื่อง “ตัวอย่างความสำเร็จศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ” ในวันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

Read more “บรรยายพิเศษ เรื่อง “ตัวอย่างความสำเร็จศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ””

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้การต้อนรับการมาเยือนของท่านมีชัย วีระไวทยะและคณะ

           วันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 เวลา 13.00 น. ถึง  15.30 น. พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในนามภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับเกียรติให้การต้อนรับ ท่านมีชัย วีระไวทยะ นายกสมาคมและประธานสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน พร้อมคณะ

Read more “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้การต้อนรับการมาเยือนของท่านมีชัย วีระไวทยะและคณะ”

การประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็นของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนต่อรูปแบบการจัดการแหล่งท่องเที่ยวประเภทถ้ำ ภายใต้การท่องเที่ยววิถีใหม่ จังหวัดกาญจนบุรี บนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและแหล่งศึกษาประวัติศาสตร์

              รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ฯ (ศ.ดร. สมศักดิ์ ปัญหา) ได้ให้นโยบายการขอรับทุนสนับสนุนโครงการวิจัยเชิงรุกในสถานการณ์ COVID 19 และการดำเนินโครงการวิจัยในวิถีปกติใหม่ (New Normal) ทั้งนี้ อาจารย์ ดร.ปิยะพร พิทักษ์ตันสกุล สังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี เป็นผู้นำเสนอโครงการวิจัย

Read more “การประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็นของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนต่อรูปแบบการจัดการแหล่งท่องเที่ยวประเภทถ้ำ ภายใต้การท่องเที่ยววิถีใหม่ จังหวัดกาญจนบุรี บนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและแหล่งศึกษาประวัติศาสตร์”

โครงการวิจัย: การใช้เทคโนโลยีโอมิกส์เพื่อคืนชีวิตพญาแร้งกลับสู่ระบบนิเวศของไทยและภูมิภาค

                 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (ศคช.) ฝ่ายทุนวิจัย สำนักบริหารวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สบจ.)  สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ร่วมกับคณะนักวิจัย จัดประชุมหารือการดำเนินงานโครงการวิจัย: การใช้เทคโนโลยีโอมิกส์เพื่อคืนชีวิตพญาแร้งกลับสู่ระบบนิเวศของไทยและภูมิภาค Use of Omics Technologies for Resurrection of Asian King Vultures Sarcogyps calvus (Scopoli, 1786) into Thailand and Regional Ecosystems วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ณ ห้องประชุม 201 อาคารจามจุรี 3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Read more “โครงการวิจัย: การใช้เทคโนโลยีโอมิกส์เพื่อคืนชีวิตพญาแร้งกลับสู่ระบบนิเวศของไทยและภูมิภาค”

กิจกรรม “ตามหาสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังกัน”

                         ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพและมหาวิทยาลัยเครือข่ายร่วมกับมูลนิธิธรรมชาติศึกษา ร่วมจัดกิจกรรม “ตามหาสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังกัน” ระหว่างวันที่ 26-27 กันยายน 2563 ณ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตำบลผักแพรว อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

Read more “กิจกรรม “ตามหาสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังกัน””

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานโล่เกียรติยศ ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น และเมธีวิจัยอาวุโส สกว. และดุษฎีบัณฑิตโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ดีเด่น เพื่อเป็นเกียรติ แก่นักวิจัย

                 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานโล่เกียรติยศ ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น และเมธีวิจัยอาวุโส สกว. และดุษฎีบัณฑิตโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ดีเด่น เพื่อเป็นเกียรติ แก่นักวิจัย เมื่อวันพุธ ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต

Read more “สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานโล่เกียรติยศ ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น และเมธีวิจัยอาวุโส สกว. และดุษฎีบัณฑิตโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ดีเด่น เพื่อเป็นเกียรติ แก่นักวิจัย”