ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ขอแสดงความยินดีเนื่องในโอกาส ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี 2563 สาขาวิทยาศาสตร์ แก่ศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ปัญหา รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์ฯ, อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งผู้ที่จะได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา นั้นจะต้องมีผลงานที่ใช้ศิลปวิทยาเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ เนื่องจากเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เป็นเหรียญซึ่งพระมหากษัตริย์จะได้พระราชทานเพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติแก่บุคคลซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในทางศิลปวิทยา อันได้แสดงให้ประจักษ์เป็นพิเศษว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประเทศชาติ
หมวดหมู่: News.
กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยดินแห่งภูมิภาคเอเชีย (Center of Excellence on Soil Research in Asia: CESRA) เพื่อรองรับการทำงานวิจัยของนักวิจัยและขับเคลื่อนงานด้านวิชาการและแนวปฏิบัติด้านการจัดการดินตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals (SDGs)) ทั้งนี้ ได้เรียนเชิญผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้ที่ประสบความสำเร็จและมีประสบการณ์ในการบริหารดำเนินงานของศูนย์ฯ และร่วมเป็นวิทยากร บรรยายพิเศษ เรื่อง “ตัวอย่างความสำเร็จศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ” ในวันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
Read more “บรรยายพิเศษ เรื่อง “ตัวอย่างความสำเร็จศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ””
พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้การต้อนรับการมาเยือนของท่านมีชัย วีระไวทยะและคณะ
วันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 เวลา 13.00 น. ถึง 15.30 น. พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในนามภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับเกียรติให้การต้อนรับ ท่านมีชัย วีระไวทยะ นายกสมาคมและประธานสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน พร้อมคณะ
รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ฯ (ศ.ดร. สมศักดิ์ ปัญหา) ได้ให้นโยบายการขอรับทุนสนับสนุนโครงการวิจัยเชิงรุกในสถานการณ์ COVID 19 และการดำเนินโครงการวิจัยในวิถีปกติใหม่ (New Normal) ทั้งนี้ อาจารย์ ดร.ปิยะพร พิทักษ์ตันสกุล สังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี เป็นผู้นำเสนอโครงการวิจัย
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (ศคช.) ฝ่ายทุนวิจัย สำนักบริหารวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สบจ.) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ร่วมกับคณะนักวิจัย จัดประชุมหารือการดำเนินงานโครงการวิจัย: การใช้เทคโนโลยีโอมิกส์เพื่อคืนชีวิตพญาแร้งกลับสู่ระบบนิเวศของไทยและภูมิภาค Use of Omics Technologies for Resurrection of Asian King Vultures Sarcogyps calvus (Scopoli, 1786) into Thailand and Regional Ecosystems วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ณ ห้องประชุม 201 อาคารจามจุรี 3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Read more “โครงการวิจัย: การใช้เทคโนโลยีโอมิกส์เพื่อคืนชีวิตพญาแร้งกลับสู่ระบบนิเวศของไทยและภูมิภาค”
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพและมหาวิทยาลัยเครือข่ายร่วมกับมูลนิธิธรรมชาติศึกษา ร่วมจัดกิจกรรม “ตามหาสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังกัน” ระหว่างวันที่ 26-27 กันยายน 2563 ณ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตำบลผักแพรว อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
Read more “กิจกรรม “ตามหาสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังกัน””
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานโล่เกียรติยศ ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น และเมธีวิจัยอาวุโส สกว. และดุษฎีบัณฑิตโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ดีเด่น เพื่อเป็นเกียรติ แก่นักวิจัย เมื่อวันพุธ ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับศูนย์วิจัยอนุกรมวิธานประยุกต์ (ATRC) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (BDC) และสมาคมพฤกษศาสตร์ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ภายใต้คณะทำงานโดยการนำของ ศ.ดร. ประนอม จันทรโณทัย ดร.พรชัย กลัดวงษ์ และนายพงศกร คุณาสิทธิ์ นักศึกษาปริญญาโท ได้จัดกิจกรรมศึกษาพรรณไม้เพื่อให้เกิดการรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ ที่อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ ระหว่างวันที่ 28-30 พฤศจิกายน 2562
กิจกรรม “Bangkok Wild Watch 2019 @ Rot Fai Park” สำรวจชีวิตป่าเมืองกรุง ตรวจสุขภาพกรุงเทพฯ กับมูลนิธิโลกสีเขียว ร่วมสำรวจสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายในสวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) ในวันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม 2562 เวลา 07.00 น. – 12.00 น. ณ สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
Read more “Bangkok Wild Watch 2019 @Rot Fai Park”
เมื่อวันที่ 26 – 27 ตุลาคม 2562 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ร่วมกับ UNDP (United Nations Development Programme), Global Youth Biodiversity Network Southeast Asia, The Biodiversity Finance Initiative และ Thailand Youth Biodiversity Network ร่วมกันจัดโครงการเสียงแห่งรักษ์จากเยาวชน เพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ (Thailand Youth Voices for Biodiversity) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อเพิ่มความตระหนัก ให้ความรู้ สนับสนุน และผลักดันให้เยาวชนการยเป็นหนึ่งในผู้ขับเคลื่อนแผนงานและเป้าหมายด้วนความหลากหลายทางชีวภาพ 2. เพื่อขยายปฏิสัมพันธ์ของการรายงานและนโยบายทั้งระดับประเทศและนานาชาติด้านความหลากหลายทางชีวภาพให้เข้าถึงเยาวชนมากขึ้น และ 3. เพื่อเปิดพื้นที่ในการเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านความหลากหลายทางชีวภาพสำหรับเยาวชนเพื่อสร้างพลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
Read more “โครงการ Thailand Youth Voices for Biodiversity”