About us

                    ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Center of Excellence on Biodiversity) ได้รับการพิจารณาให้จัดตั้งขึ้นตามมติในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2549 เป็นหนึ่งใน 11 ศูนย์ความเป็นเลิศ ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สบว.) (Postgraduate Education Research Development Office) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) (Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation) ทั้งนี้เพื่อเป็นกลไกสำคัญที่จะนำไปสู่การเสริมสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การสร้างนวัตกรรมและมูลค่าเพิ่มให้แก่ระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย รวมทั้งการสร้างรากฐานการศึกษาและวิจัยของประเทศให้เป็นผู้นำ และศูนย์กลางการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพ

ที่มา : งานสัมมนาวิชาการและแสดงนิทรรศการ ศูนย์ความเป็นเลิศกับการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยสำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา

             

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                   ที่มา : http://nscr.nesdb.go.th (แผนการปฏิรูปประเทศ)

News

``การประชุมวิชาการอนุกรมวิธานและซิสเทมาติคส์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 11`` (The 11th Conference on Taxonomy and Systematics of Thailand) ``Unseen Ecosystems of Peninsular Thailand``

 

ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วม “การประชุมวิชาการอนุกรมวิธานและซิสเทมาติคส์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 11” (The 11th Conference on Taxonomy and Systematics of Thailand) “Unseen Ecosystems of Peninsular Thailand”
 
วันที่ : 18 – 20 พฤษภาคม 2566
สถานที่ : คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (วิทยาเขตหาดใหญ่)
 
กิจกรรม : การนำเสนอผลงานทางวิชาการทั้งแบบปากเปล่า (Oral presentation) และ แบบโปสเตอร์ (Poster presentation) ใน 4 กลุ่มหลักคือ
1.กลุ่มสัตว์ 2.กลุ่มพืช 3.กลุ่มจุลินทรีย์ 4.กลุ่มนิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
 
พิเศษชั้นที่ 1 : มีอัตราค่าลงทะเบียนแบบ Early Bird
พิเศษชั้นที่ 2 : หลังงานประชุมมีการออกภาคสนามใน 4 เส้นทางให้เลือกทัศนศึกษา เพื่อเปิดประสบการณ์ใหม่ในพื้นที่คาบสมุทรไทย (แต่ละเส้นทางรับจำนวนจำกัด)
 
รายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://tst2023.sci.psu.ac.th

read more

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ร่วมแถลงข่าวงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย ประจำปี 2565 หรือ “TechnoMart 2022”

                ศ. ดร.สมศักดิ์ ปัญหา ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ร่วมงานแถลงข่าว “งานเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย” ประจำปี 2565 หรือ “TechnoMart 2022” ในรูปแบบ Hybrid Exhibition ภายใต้แนวคิด BCG สู่เศรษฐกิจ สร้างคุณค่า “เพิ่มคุณภาพชีวิต เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” โดยมี และได้รับเกียรติจาก ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธี เมื่อวันพุธที่ 14 กันยายน 2565 ณ ลิฟวิ่ง ฮอล์ ชั้น 3 ศูนย์การค้าสยามพารากอ

 

read more

การตรวจเยี่ยมศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ


                การตรวจเยี่ยมศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ของคณะผู้บริหารสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ประจำปีงบประมาณ 2565 วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 2565 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์ อาคารแถบ นีละนิธิ ชั้น 2 คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

read more

การประชุมวิชาการอนุกรมวิธานและซิสเทมาติคส์ในประเทศไทย ครั้งที่ 10 (TST 10)


               

              ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัด “การประชุมวิชาการอนุกรมวิธานและซิสเทมาติคส์ในประเทศไทย ครั้งที่ 10” ระหว่างวันที่ 22 – 24 พฤษภาคม 2565 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยมี  รองศาสตราจารย์ ดร.อริยาภรณ์  พงษ์รัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ เป็นประธานและ ศาสตราจารย์ ดร.ศิริพร  จึงสุทธิวงษ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวรายงานและวัตถุประสงค์การจัดการประชุมครั้งนี้

 

read more

การเสวนาออนไลน์ เรื่อง “แมลงน้ำในประเทศไทย: งานวิจัยและการนำไปใช้ประโยชน์”

                 ศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ปัญหา ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ร่วมเปิดงานเสวนาออนไลน์ เรื่อง “แมลงน้ำในประเทศไทย: งานวิจัยและการนำไปใช้ประโยชน์” ในวันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 10.00 – 12.00 น. ในรูปแบบ Online ผ่านโปรแกรม Zoom meeting โดยวิทยากรผู้เชียวชาญ นำโดย รศ. ดร.นฤมล แสงประดับ (สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น), ศ. ดร.ไพโรจน์ ประมวล (ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม), รศ. ดร.บุญเสฐียร บุญสูง (ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์), รศ. ดร.นิศารัตน์ ตั้งไพโรจน์วงศ์ (สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น), รศ. ดร.เอกวัต วิถีประดิษฐ์ (ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) และ รศ. ดร.แตงอ่อน พรหมมิ (สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน)

 

read more

งานเสวนาออนไลน์ เรื่อง “ไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงและแบคทีเรียร่วมอาศัยกับการนำไปใช้ประโยชน์”

                ศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ปัญหา ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ร่วมเปิดงานเสวนาออนไลน์ เรื่อง “ไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงและแบคทีเรียร่วมอาศัยกับการนำไปใช้ประโยชน์” ในวันอังคาร ที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2565 เวลา 10.00 – 12.00 น.ในรูปแบบ Online ผ่านโปรแกรม Zoom meeting โดยวิทยากรผู้เชียวชาญ นำโดย ศ. ดร.อภิชาติ วิทย์ตะ และดร.อัญชลี ฐานวิสัย (ภาควิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, สถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร), รศ. ดร.วันดี วัฒนชัยยิ่งเจริญ (ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, สถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร)

 

read more

โครงการประชุมสัมมนาแบบผสมผสานในหัวข้อ “บนทางหลายแพร่ง อันเนื่องมาจากการเพาะเลี้ยงหอยเชอรีสีทอง”

                ศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ปัญหา ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ร่วมเปิดโครงการประชุมสัมมนาแบบผสมผสานในหัวข้อ “บนทางหลายแพร่ง อันเนื่องมาจากการเพาะเลี้ยงหอยเชอรีสีทอง” ในวันศุกร์ ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565 เวลา 08.30 – 16.15 น. ณ หอประชุมจามจุรี 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร และในรูปแบบ Online ผ่านโปรแกรม Zoom meeting โดยวิทยากรผู้เชียวชาญ นำโดย ศ. ดร.สมศักดิ์ ปัญหา (ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและภาคีสมาชิก สาขาสัตววิทยาและสัตวศาสตร สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา), นายวรพงษ สาระรัตน์ (ประมงจังหวัดสกลนคร), ผศ. ดร.ฉัตรชัย ปรีชา (หลักสูตรเทคโนโลยีการผลิตสัตว์น้ำ คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย), ผศ. ดร.นิศาชล ฤาแก้วมา (คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร), ผศ. ดร.รัตน์มณี ชนะบุญ (ประธานสาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร), ดร.อรอนงค์ ฐาปนพันธ์นิติกุล (สาขาเทคโนโลยีการอาหารและโภชนาการ คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร), อาจารย์ ดร.ณัฐวดี นันตรัตน์ (ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่), นายเฉลิมศักดิ์ พูลเพิ่ม (สถานวิจัยความเป็นเลิศความหลากหลายทางชีวภาพแห่งคาบสมุทรไทย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์), นายปิยะ ไชยรักษ์ (แขวงทางหลวงสุราษฎ์ธานี ที่ 1 เลขที่ 5 ถนนกาญจนวิถี ตำบลบางกุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎ์ธานี) และนายสุปัญญา อันเนตร์ (ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

 

read more

การเสวนาออนไลน์ เรื่อง “พืชสกุลชมพู่ของไทยจากวันวาน ถึง วันนี้”

               ศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ปัญหา ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ร่วมเปิดงานเสวนาออนไลน์ เรื่อง “พืชสกุลชมพู่ของไทยจากวันวาน ถึง วันนี้” ในวันพุธที่ 19 มกราคม 2565 เวลา 13.00 – 15.00 น. ในรูปแบบ Online ผ่านโปรแกรม Zoom meeting  โดยวิทยากรผู้เชียวชาญ นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.ประนอม จันทรโณทัย สาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนกอร เรืองสว่าง ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ช่อทิพย์ กัณฑโชติ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

read more

การเสวนาออนไลน์ เรื่อง “ระบบนิเวศหญ้าทะเล ผืนป่าใต้น้ำ คุณค่าและความสำคัญ”

               ศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ปัญหา ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ร่วมเปิดงานเสวนาออนไลน์ เรื่อง “ระบบนิเวศหญ้าทะเล ผืนป่าใต้น้ำ คุณค่าและความสำคัญ” ในวันจันทร์ ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565 เวลา 13.30 น. – 16.00 น. ในรูปแบบ Online ผ่านโปรแกรม Zoom meeting โดยวิทยากรผู้เชียวชาญ นำโดย รศ. ดร.อัญชนา ประเทพ (ผอ.สถานวิจัยความเป็นเลิศความหลากหลายทางชีวภาพแห่งคาบสมุทรไทย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์), คุณสันติ นิลวัตน์ (ผอ.ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง), คุณภาคภูมิ วิธานติรวัฒน์ (ผู้ประสานงานมูลนิธิอันดามัน), ดร.เอกลักษณ์ รัตนโชติ (สถานวิจัยความเป็นเลิศความหลากหลายทางชีวภาพแห่งคาบสมุทรไทย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์), คุณปิยะลาภ ตันติประภาส (สถานวิจัยความเป็นเลิศความหลากหลายทางชีวภาพแห่งคาบสมุทรไทย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) และคุณจันทร์มณี ปัญญาไว (นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)

 

read more

การเสวนาออนไลน์ เรื่อง เห็ด : การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนในอนาคต

          ศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ปัญหา ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ร่วมเปิดงานเสวนาออนไลน์ เรื่อง “เห็ด : การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนในอนาคต” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม 2564 เวลา 13.30 – 15.30 น. ในรูปแบบ Online ผ่านโปรแกรม Zoom meeting โดยวิทยากรผู้เชียวชาญ ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ดร.สายสมร ลำยอง หัวหน้าศูนย์วิจัยด้านความหลากหลายของจุลินทรีย์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ภาคีสมาชิก สำนักวิทยาศาสตร์ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, อาจารย์ ดร.นริษฎา ทองกลาง อาจารย์และนักวิจัยราวิทยา สำนักวิชาวิทยาศาสตร์และศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยเชื้อรา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, ดร.นครินทร์ สุวรรณราช นักวิจัยราวิทยา สำนักงานบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ดร.จตุรงค์ คำหล้า นักวิจัยราวิทยา สำนักงานบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และนางสาวธิติยา บุญประเทือง นักวิจัยราวิทยา ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

 

read more

แบบสำรวจเพื่อจัดทำฐานข้อมูลนักอนุกรมวิธานสัตว์ในประเทศไทย

                       ขอเรียนเชิญนักวิจัยทางด้านอนุกรมวิธานและซิสเทแมติกส์ของสัตว์ให้ข้อมูลเพื่อจัดทำฐานข้อมูลนักอนุกรมวิธานและซิสเทแมติกส์ของสัตว์ในประเทศไทย และใช้สำหรับการวางนโยบายการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ในประเทศไทย

ท่านสามารถกรอกข้อมูลได้ที่ลิงค์  https://forms.gle/tsFXBU7UcRmvHtoi8

Academic output

โครงการฐานข้อมูลชีวภาพของประเทศไทย (Thailand Bioresource, TBR)

         โครงการ “Is Thailand a hub, cross road, corridor, filter and barrier for biodiversity of the region?” ใช้สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา เป็นโมเดล ได้ให้ทุนวิจัยจำนวน 7 ทุน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้ข้อมูลที่นำไปบูรณาการกับข้อมูลในระบบนิเวศแหล่งอื่น         

โครงการรวบรวมข้อมูลบัญชีรายการทรัพยากรชีวภาพสัตว์ในกลุ่มหอยในประเทศไทย

          เมื่อเดือนธันวาคม 2557 ศูนย์ฯ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) ที่มีชื่อเป็นที่รู้จักกันว่า BEDO ให้ดำเนินงานวิจัยเพื่อรวบรวมข้อมูลบัญชีรายการทรัพยากรชีวภาพสัตว์ในกลุ่มหอยในประเทศไทย

The Conference on Taxonomy and Systematics in Thailand (TST)

          กิจกรรมทางวิชาการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีที่เกิดขึ้นผ่านศูนย์ความเป็นเลิศฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพได้มีโอกาสมาพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนกันทุกๆ ปี มีการนำเสนอผลงานวิจัย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างนักวิจัยระดับผู้เชี่ยวชาญ รุ่นกลาง และรุ่นใหม่

ร่วมสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพกับ Fauna & Flora International (FFI)

          ศูนย์ฯ ได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในคณะนักสำรวจนานาชาติเพื่อวิจัยทรัพยากรชีวภาพในประเทศพม่ากับทีมนักวิจัยจากองค์การอนุรักษ์พืชและสัตว์ระหว่างประเทศ  หรือ Fauna & Flora International (FFI) ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีความเข้มแข็งและมีบทบาทสำคัญต่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของโลก